เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง นวัตกรรมฝีมือคนไทย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวในหัวข้อ เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง นวัตกรรมฝีมือคนไทย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยโครงการดังกล่าวได้ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือ และบริษัท อินทรอนิคส์ จำกัด ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง Chula HFNC (Chula High Flow Nasal Cannula ) เพื่อใช้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการติดเชื้อจากโควิด– 19 และผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจ นับว่าเป็นเครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูงเครื่องแรกที่ผลิตได้โดยคนไทย สามารถลดการนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 จะมีอาการปอดอักเสบรุนแรงมากกว่าร้อยละ 15 ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง โดยพบว่าสามารถลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจและอัตราการเสียชีวิตได้ หลังจากการทดสอบ เครื่อง Chula HFNC  ในอาสาสมัครปกติทั้งหมด 5 คน รวมถึงผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการปอดอักเสบที่รักษาตัวในห้อง ICU ทั้งหมด 10…

เสวนาเอดส์

“WALK TOGETHER : เอชไอวี อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา”

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฝ่ายบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนา “WALK TOGETHER : เอชไอวี อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา” เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ชั้น 10 อาคาร สก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข งานเสวนาดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ภายใต้ โครงการเครือข่ายยุติเอดส์ในกรุงเทพมหานคร Network to Ending AIDS in Bangkok (NEAB) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและลดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการ ภายในงานเสวนา…

พัฒนาวัคซีนโควิด

จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา)

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19”   วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าว จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 หลังพบในลิงได้ผลดี เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา) ความคืบหน้าการพัฒนา และผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็มที่สอง เตรียมพร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผนต่อไป ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย…

ทรงเปิดอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

วันที่ 27 กรกฎาคม 2562 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย กราบบังคมทูลถวายรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินงานจัดสร้างอาคาร “ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” “อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์” เป็นอาคารรักษาพยาบาลรวมขนาด 29 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 224,752.25 ตารางเมตร นับเป็นอาคารโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ชื่ออาคารว่า “อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์” ซึ่งมีความหมายว่า “อนุสรณ์ที่เป็นมงคลของสองพระองค์” อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ยังรวมบริการต่างๆ ที่กระจายอยู่ตามอาคารต่างๆ มาไว้ในอาคารเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปหลายอาคารเหมือนเมื่อก่อน เช่น การย้ายผู้ป่วยที่กระจัดกระจายตามตึกต่างๆ เข้ามาพักที่หอผู้ป่วยในอาคารนี้ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้กว่า 1,369 เตียง และมีส่วนสนับสนุนการให้บริการผู้ป่วยใน…

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดบริการทางการแพทย์ขั้นสูงเฉลิมพระเกียรติฯ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าวการจัด “โครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูง” ให้บริการผู้ป่วยโรคซับซ้อนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกว่า 22 โครงการ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 67 พรรษา ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดทำโครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นปีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 67 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่างๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่า เช่น กิจการด้านสาธารณสุข การอาชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทห่างไกล การจัดโครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงนั้นเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี โดยมุ่งช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซับซ้อนแก่ประชาชนทุกระดับ…

วันรักษ์เปลือกตา LID DAY 2019

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย ศูนย์เลเซอร์สายตา ฝ่ายจักษุวิทยา และฝ่ายการพยาบาล จัดงานเสวนาวันรักษ์เปลือกตา LID DAY 2019 เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้งชนิดท่อน้ำมันที่เปลือกตาอุดตัน และได้รับเกียรติจากญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ และคุณแป้ง-นวลพรรณ ล่ำซำ มาร่วมสร้างสีสันและแบ่งปันประสบการณ์ภายในงาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รองศาสตราจารย์ แพทหญิงงามจิตต์ เกษตรสุวรรณ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคสายตาผิดปกติแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนเป็นภารกิจสำคัญและต่อเนื่องของศูนย์เลเซอร์สายตา โดยแต่ละปีจะมีการกำหนดหัวข้อการจัดงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งในปีพ.ศ.2562 กำหนดจัดงานวันรักษ์เปลือกตา (LID DAY) ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2562 เน้นการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาโรคตาแห้งชนิดท่อน้ำมันที่เปลือกตาอุดตัน (Meibomian Gland Dysfunction -MGD) ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคตาแห้ง จากรายงานการรักษาผู้ป่วยโรคสายตาผิดปกติที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์เลเซอร์สายตา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือเลเซอร์ได้ทันที เนื่องจากมีภาวะโรคตาแห้งจากความผิดปกติของน้ำตา (Dry Eye)  ซึ่งน้ำตามีทั้งหมด…

60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็น

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนาและมอบรางวัลชนะเลิศ “60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็น” โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการให้บริการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ ชั้น 13 โซนB (ลานเอนกประสงค์) อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจและทราบแนวทางการรักษาเกี่ยวกับโรคกะจกตาพิการ และการผ่าตัดด้วยวิธีที่ดีที่สุด ตรงตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีใหม่ จากความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาครั้งแรก เมื่อปี 2502 ตลอดระยะเวลา 60 ปี เทคโนโลยีในการเปลี่ยนกระจกตาก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ ปัจจุบันกระจกตาที่ได้รับบริจาคจาก ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 1 ดวง สามารถแยกเป็นชั้นต่าง ๆ ได้ และสามารถรักษาผู้ป่วยได้หลายราย นอกจากการเสวนาให้ความรู้เรื่องโรคกระจกตาพิการ และการมอบรางวัลแก่ผู้ออกแบบโลโก้ 60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็นแล้วยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องของการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคกระจกตา การออกบูธรับบริจาคดวงตา และ การออกบูธตรวจวัดสายตาฟรีสำหรับประชาชนด้วย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แถลงความสำเร็จรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว “ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า” ณ ห้องประชุม อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มุ่งมั่นพัฒนาวิธีดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบครบวงจร และกำลังจะดำเนินการโครงการก่อสร้างศูนย์บูรณาการวิจัยและรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อมุ่งเน้นการวิจัยนวัตกรรมที่สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลรักษาโรคมะเร็งควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาผู้ป่วย หนึ่งในโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่คือ การพัฒนาการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์บำบัด ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัด นอกจากนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้สร้างห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษที่สามารถผลิตเซลล์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงพัฒนาบุคลากรและระบบที่มีคุณภาพในด้านการผลิต ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอรับรองตามมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) กล่าวว่า TCELS เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำ “Mapping การวิจัยและ Roadmap การวิจัยและการให้บริการทางการแพทย์ด้านเซลล์บำบัดและยีนบำบัดในประเทศไทย” และสนับสนุนโครงการวิจัยที่สำคัญทางด้านนี้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรักษาในกลุ่มโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำและเสียชีวิต…