การปรับปรุงแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลในเขตค็อก บาซาร์ ซาดาร์

ครบรอบ 1 ปี การปรับปรุงแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลในเขตค็อก บาซาร์ ซาดาร์ โดย ICRC

หลังจากให้การรักษาทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยกว่า 100,000 ราย จากทั่วทั้งเขตค็อกซ์ บาซาร์ รวมถึงชุมชนที่รองรับผู้อพยพและประชากรผู้พลัดถิ่นจากรัฐยะไข่ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ในที่สุดการปรับปรุงแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเขตค็อก บาซาร์ ซาดาร์ก็ได้โอกาสฉลองครบรอบ 1 ปี ของการเปิดให้บริการ ซึ่งเจ้าหน้าที่แผนกฯ ยังคงให้การดูแลฉุกเฉินแก่ผู้ป่วยทั่วทั้งเขตที่เดินทางมารับการรักษา ณ แผนกฉุกเฉินประจำสถานพยาบาลหลักของรัฐแห่งนี้ซึ่งรองรับผู้คน 3-5 ล้านคน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 เป็นต้นมา  คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารจัดการโรงพยาบาลซาดาร์อย่างใกล้ชิด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพฉุกเฉินและศักยภาพความพร้อมในการบริหารจัดการของแผนกฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19  โดย ICRC ได้จัดฝึกอบรมทักษะการดูแลฉุกเฉินแก่เจ้าหน้าที่ประจำแผนกฯ มอบยารักษาและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดูแลฉุกเฉิน ซึ่งช่วยให้แผนกฯ มีความพร้อมและวางแผนอย่างเหมาะสมเพื่อพร้อมรองรับต่อความจำเป็นของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ทั้งนี้ แผนกฯ แห่งนี้ได้รองรับผู้ป่วยวิกฤติเกือบสองพันรายโดยมีอัตราการรอดชีวิตถึงร้อยละ 98 ซึ่งเป็นผลจากการนำเอาแนวทางการให้เจ้าหน้าที่หนึ่งคนทำการดูแลผู้ป่วยหนึ่งรายในแผนกฯ มาใช้ จึงได้ช่วยลดสภาพความแออัดภายในแผนกฯลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น การรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นก็ลดลงมากถึงร้อยละ 65 ซึ่งช่วยลดสภาพความแออัดในหอผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ฟาร์รุกห์ อิสโลมอฟ ผู้อำนวยการสำนักงานย่อยของ ICRC ในเขตค็อก บาซาร์ อธิบายถึงความสำคัญของแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่มีผู้เข้ารับการรักษามากที่สุดของเขตแห่งนี้ว่า “หนึ่งปีหลังจากเปิดทำการ แผนกฉุกเฉินแห่งนี้ได้ให้การดูแลฉุกเฉินแก่ผู้ป่วยกว่า 100,000 ราย…

องค์กรกาชาดระดมทุน

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ระดมทุนกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ระดมทุนกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เจนีวา– กลุ่มองค์กรกาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศประกาศระดมทุนจำนวน 3.1 พันล้านสวิสฟรังก์หรือกว่า 1 แสนล้านบาท อย่างเร่งด่วนเพื่อยกระดับภารกิจขององค์กรในการหยุดยั้งการแพร่ะบาดของโรคโควิด-19 และ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่สุดในโลก ความร่วมมือนี้เป็นการต่อยอดจากการขอระดมทุนฉุกเฉินเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมาโดยเป้าหมายสำคัญของการระดมทุนคือเพิ่มบริการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมที่ดำเนินอยู่โดยเน้นทั้งผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดและผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นตามมา นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมาทำให้ชีวิตของผู้คนได้รับผลกระทบ ช่องว่างของความไม่เท่าเทียมขยายวงกว้างขึ้น ชุมชนเกิดความไม่มั่นคง และ ส่งผลต่อการพัฒนาที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Jagan Chapagain เลขาธิการสหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) กล่าวว่า “ในแง่มนุษยธรรม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดกลุ่มเปราะบางใหม่จากกลุ่มเดิมที่มีความเสี่ยงมากอยู่แล้ว เรากำลังเผชิญกับวิกฤตทับซ้อนที่จะทำให้ปัญหาความยากจน ความปลอดภัยทางอาหาร สภาพเศรษฐกิจ การขาดแคลนระบบสาธารณสุข น้ำสะอาด และสุขอนามัยเลวร้ายลงกว่าเดิม” “อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ของกลุ่มองค์กรกาชาดได้ส่งมอบบริการที่ช่วยชีวิตผู้คนและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาด ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบาง และ สภาพสังคมเศรษฐกิจ การช่วยเหลือชุมชนและกลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องทำอย่างยั่งยืนและมีการประสานงานที่ดีของกลุ่มองค์กรกาชาดทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก” ทั้งนี้ในกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศประกอบด้วย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) และ สภากาชาดจาก 192 ประเทศทั่วโลกที่รวมถึงสภากาชาดไทย…

สภากาชาดไทยรับมอบหน้ากากอนามัยและเงินสนับสนุนจาก ICRC

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร รับมอบหน้ากากอนามัย จำนวน100,000 ชิ้น เงินสนับสนุนการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 500,000 บาท และ สื่อเพื่อการเรียนรู้ เรื่องโรคโควิด-19 ในภาษาไทย และ ภาษาต่างๆ ของกลุ่มผู้พลัดถิ่นและแรงงานต่างด้าวอีกจำนวน 5 ภาษา จากนาย คริสตอฟ ซุตแตร์ ผู้อำนวยการ และนายบรูโน ปอมมิเยร์ รองผู้อำนวยการ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย ในการตอบโต้และป้องกันภัยจากการระบาดของโรค โควิด-19 โดยเน้นที่การสนับสนุนและดูแลกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้พลัดถิ่น และแรงงานต่างด้าว โดยมีนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ รวมเป็นเกียรติในการรับมอบ

ICRC ช่วยแรงงานข้ามชาติ

ICRC ให้การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในการรับมือกับ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC ได้ดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งในประเทศไทยทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางและอาจจะยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อที่จำเป็นหลายรายการ อันได้แก่ ห้องกักสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) – ICRC ให้การสนับสนุนกับห้องกักด่านตรวจคนเข้าเมือง 4 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ สตม.สวนพลู สตม.ดอนเมือง สตม.ระนอง และด่านตม.สะเดา จังหวัดสงขลา ด้วยการมอบอุปกรณ์ทำความสะอาด เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และ อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น แว่นป้องกันตา ถุงมือ อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และ หน้ากากอนามัย โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ฆ่าเชื้อและดูแลความสะอาดของสถานที่และป้องกันเจ้าหน้าที่และบุคคลที่อยู่ในความดูแลของห้องกักดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้มอบชุด Restoring Family Links (RFL) kits ให้แก่ ห้องกักสตม. สวนพลู สำหรับใช้ทำความสะอาดโทรศัพท์สาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการติดต่อทางไกลระหว่างผู้ต้องกักและญาติจะดำเนินไปอย่างปลอดภัย พื้นที่ภาคเหนือ – ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพของไทย – จัดสร้างห้องแยกผู้ป่วยโควิด-19 ให้กับคลีนิคแม่ตาว ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อสามารถให้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐานกับแรงงานข้ามชาติซึ่งข้ามมาจากชายแดนประเทศเพื่อนบ้านได้ –  ให้ความช่วยเหลือในการอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อและการป้องกันให้กับชุมชนในจังหวัดตาก ให้ความรู้…

จัดการศพ

ICRC เผยการวางแผนเพื่อรับมือกับร่างของผู้เสียชีวิตจาก COVID-19

การวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับมือกับร่างของผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เป็นสิ่งสำคัญ เจนีวา – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 อาจเกินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการจัดการศพหรือร่างผู้เสียชีวิตได้อย่างเหมาะสมแต่หากมีการเตรียมการและวางแผนที่ดีพอก็สามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัวที่รอดชีวิต แต่หากล้มเหลวอาจหมายถึงการที่ต้องฝังร่างของผู้เสียชีวิตไว้ในหลุมฝังศพขนาดใหญ่ และมีการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตและสถานที่ที่นำร่างผู้เสียชีวิตไปฝังไว้ไม่ละเอียดพอ และ ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตไม่ทราบว่าท้ายที่สุดแล้วร่างของบุคคลอันที่เป็นที่รักถูกฝังไว้ที่ไหน “การวางแผนเพื่อรองรับจำนวนของผู้เสียชีวิต ไม่ได้หมายความว่าจะมีผู้เสียชีวิตมากขึ้น แต่การวางแผนไว้ล่วงหน้ามีความจำเป็น และอาจต้องมีการดำเนินงานเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่ครอบครัวและสังคมในวงกว้างต้องเผชิญ เราต้องการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติต่อร่างผู้เสียชีวิตอย่างไร้เกียรติและศักดิ์ศรี” โอราน ฟินเนอกาน ผู้อำนวยการแผนกนิติเวช ประจำ ICRC กล่าว ในหลายประเทศ แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งหรือการสู้รบ แต่สถานที่ดำเนินการจัดการศพและสถานที่เก็บศพที่มีอยู่ก็เต็มไปด้วยร่างผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ดังกล่าวอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการสู้รบ เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถจำกัดในการรับมือกับร่างผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งที่จะต้องมี คือการจัดตั้งหรือนำแผนรับมือเหตุฉุกเฉินมาใช้ ก่อนที่วิกฤติใด ๆ จะเกิดขึ้น จนทำให้เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินรับมือไม่ไหวและขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการระบุตัวตนและการจดบันทึกเอกสารเกี่ยวกับร่างผู้เสียชีวิตได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีการอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการขอรับใบมรณบัตร การจดทะเบียนผู้เสียชีวิต และใบอนุญาตฝังร่างผู้เสียชีวิตที่ถูกต้อง “หลายคนมักจะไม่เห็นความสำคัญของกระบวนการด้านนิติเวช จนกว่าผู้เสียชีวิตคนนั้นจะเป็นคนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นแม่ พี่ชาย หรือลูก คุณจึงต้องให้ความใส่ใจอย่างถี่ถ้วนว่ามีการจัดการอย่างถูกต้องกับร่างของผู้เสียชีวิต หากประเทศต่าง ๆ เริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจจะช่วยทำให้มีการจัดการกับร่างผู้เสียชีวิตได้อย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรี…