สาระความรู้

“วันรักสัตว์เลี้ยงโลก” (Love Your Pet Day)

“วันรักสัตว์เลี้ยงโลก” (Love Your Pet Day) 20 กุมภาพันธ์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคล ครอบครัว สังคม     รวมไปถึงสภาพแวดล้อมเหล่านี้ มีแนวโน้มทำให้คนไทยในปัจจุบันนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสุนัขและแมว ซึ่งทุกวันนี้การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงไม่ใช่เป็นแค่ “สัตว์เลี้ยง” หากแต่เป็น “สมาชิกในครอบครัว” การเลี้ยงสัตว์มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งหลายคนทราบดีว่าสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนที่ดีให้เราในวันที่เหนื่อยล้า ช่วยลดความเครียด และยังอาจช่วยให้พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การเลี้ยงสัตว์ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่นขึ้นได้ โดยทำให้ครอบครัวได้ดูแลสัตว์และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น พาไปเดินเล่นออกกำลังกาย      ให้อาหาร อาบน้ำ ซื้อของใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง และพาสัตว์เลี้ยงไปเที่ยวในวันหยุด เป็นต้น ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดความเครียด การสัมผัสและกอดสัตว์เลี้ยงจะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) และออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งช่วยให้ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงสัตว์ยังช่วยคลายความเหงาให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีพี่น้องและ    มีเพื่อนน้อย การเลี้ยงสัตว์ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีเพื่อนที่สามารถพูดคุยและเล่นด้วยได้ ส่วนผู้สูงอายุที่มีสัตว์เลื้ยงในบ้าน จากงานวิจัยพบว่า จะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา…

“วันรักสัตว์เลี้ยงโลก” (Love Your Pet Day)

“วันรักสัตว์เลี้ยงโลก” (Love Your Pet Day) 20 กุมภาพันธ์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคล ครอบครัว สังคม     รวมไปถึงสภาพแวดล้อมเหล่านี้ มีแนวโน้มทำให้คนไทยในปัจจุบันนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสุนัขและแมว ซึ่งทุกวันนี้การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงไม่ใช่เป็นแค่ “สัตว์เลี้ยง” หากแต่เป็น “สมาชิกในครอบครัว” การเลี้ยงสัตว์มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งหลายคนทราบดีว่าสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนที่ดีให้เราในวันที่เหนื่อยล้า ช่วยลดความเครียด และยังอาจช่วยให้พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การเลี้ยงสัตว์ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่นขึ้นได้ โดยทำให้ครอบครัวได้ดูแลสัตว์และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น พาไปเดินเล่นออกกำลังกาย      ให้อาหาร อาบน้ำ ซื้อของใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง และพาสัตว์เลี้ยงไปเที่ยวในวันหยุด เป็นต้น ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดความเครียด การสัมผัสและกอดสัตว์เลี้ยงจะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) และออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งช่วยให้ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงสัตว์ยังช่วยคลายความเหงาให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเด็กที่ไม่มีพี่น้องและ    มีเพื่อนน้อย การเลี้ยงสัตว์ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีเพื่อนที่สามารถพูดคุยและเล่นด้วยได้ ส่วนผู้สูงอายุที่มีสัตว์เลื้ยงในบ้าน จากงานวิจัยพบว่า จะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเหงา…

อ่านต่อ

การแก้อาการนอนเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ

  การแก้อาการนอนเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ อาการง่วงหงาวหาวนอนระหว่างวัน หรือง่วงนอนตลอดทั้งวัน โดยที่ไม่ได้อดนอน แต่ยังรู้สึกง่วง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการนี้อยู่ ขอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตบางอย่าง เพื่อให้ร่างกายนอนหลับได้เต็มอิ่ม และไม่รู้สึกง่วงตลอดเวลาจนเสียบุคลิก งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อยเป็นเวลา 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว ไม่รับประทานอาหารมัน, อาหารที่ย่อยยาก หรืออาหารที่มีฤทธิ์เย็น เนื่องจากการรับประทานอาหารเหล่านี้จะเป็นการรบกวนการทำงานของม้าม ทำให้ม้ามทำงานหนักและอ่อนแอลง หลีกเลี่ยงการใช้งานสมองอย่างหนักหน่วง การทำงานหนักส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความเครียด สมองจึงรู้สึกล้า ส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิท รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะในกลุ่มวิตามินและเกลือแร่ เช่น วิตามินรวมชนิดต่าง ๆ ช่วยในการบำรุงระบบประสาทและสมอง การปรับพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะสดใสแข็งแรง เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่มา : Interpharma Thailand

อ่านต่อ

อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ไร้ชีวิต (การจากไปที่ไม่เคยสูญสิ้น)

อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ไร้ชีวิต (การจากไปที่ไม่เคยสูญสิ้น) “อาจารย์ใหญ่” ในบริบทที่เรากำลังกล่าวถึงนั้น ไม่ได้หมายถึง คุณครูในโรงเรียน แต่สำหรับในทางวิชาชีพแพทย์ อาจารย์ใหญ่ คือ ผู้อุทิศสละร่างกายเป็นวิทยาทาน เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์ และการฝึกผ่าตัดเฉพาะทางในภาคการฝึกปฎิบัติ อันจะส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีความเชี่ยวชาญและสามารถนำความรู้ที่เล่าเรียนมากลับมาให้บริการภาคสังคมต่อไป สำหรับใครที่สนใจอยากบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มยังไงและมีขั้นตอนใดบ้าง มาทราบขั้นตอนไปพร้อมๆ ได้เลย   ผู้ที่ต้องการบริจาคร่างกายต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ต้องบรรลุนิติภาวะมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หรือในกรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร และมีสำเนาทะเบียนบ้านประกอบในการแสดงเจตจำนง ไม่เป็นโรคติดเชื้อ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรควัณโรคระยะติดต่อ โรคพิษสุนัขบ้า          โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(HIV) ไม่เป็นมะเร็งระยะลุกลามรุนแรง ไม่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ ที่เกี่ยวข้องกับคดีความและมีการผ่าพิสูจน์ ไม่ได้รับการฝังแร่ด้วยกัมมันตรังสีมาไม่เกิน 6 เดือน ไม่ได้รับการผ่าตัดอวัยวะสำคัญ ออกจากร่างกาย ในกรณีบริจาคดวงตาสามารถบริจาคร่างกายได้ ต้องมีร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีความพิการของแขน ขา และอื่น ๆ ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวไปข้างต้นนั้น อาจขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รับร่าง…

อ่านต่อ