บุคคลดีเด่นด้านเอดส์

เชิญชวนส่งผลงาน เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านเอดส์

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เชิญชวนบุคคล หน่วยงาน องค์กร และชมรม ร่วมส่งผลงานด้านเอดส์ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. บุคคลด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2. บุคคลดีเด่นด้านสังคม 3. สื่อสร้างสรรค์ดีเด่น 4. สถานประกอบการดีเด่น 5. สถาบันการศึกษาดีเด่น 6. องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นดีเด่น 7. ครอบครัวดีเด่น และ 8. ชมรมฯ/กลุ่มผู้ติดเชื้อดีเด่น โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโล่รางวัลในงานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 ผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลการเสนอชื่อได้ที่ https://bit.ly/3aIU0pm หมดเขตส่งผลงานวันที่ 16 ตุลาคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณสมชาติ ทาแกง โทร.0 2251 6711-5 ต่อ 119 หรือ 08 1399 6121

เตือนพฤติกรรมเสี่ยงบริจาคโลหิต

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเตือนหากมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงให้งดบริจาคโลหิต มีผลต่อผู้ป่วย

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เตือนผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ และได้รับเชื้อโรคที่ถ่ายทอดทางโลหิต หากมาบริจาคโลหิต โลหิต 1 ถุง สามารถส่งต่อโรคไปให้ผู้ป่วยมากกว่า 3 ชีวิต    รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ในการรับบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย จำเป็นต้องมีการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตจากผู้ที่มีสุขภาพดี และไม่มีความเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อโรคที่สามารถถ่ายทอดทางโลหิตไปสู่ผู้ป่วยได้ ดังนั้น หากผู้ที่จะบริจาคโลหิต ทราบว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ขอให้งดการบริจาคโลหิตออกไป เพราะหากบริจาคโลหิตแล้ว โลหิตที่ได้รับบริจาคอาจนำเชื้อโรคถ่ายทอดไปให้แก่ผู้ป่วยและเพิ่มโรคแก่ผู้ป่วยได้ ซึ่งก่อนบริจาคโลหิตจะมีขั้นตอนการคัดกรองสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองสุขภาพด้วยตนเอง ว่ามีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ และที่สำคัญต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ที่จะนำเชื้อโรคส่งต่อไปให้แก่ผู้ป่วย ผู้บริจาคโลหิตตอบแบบสอบถามในแบบฟอร์มก่อนการบริจาคโลหิต โดยตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองตามความเป็นจริง ไม่ปิดบังข้อมูล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการมาบริจาคโลหิตในระยะ window period หากมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจได้รับโรคที่สามารถถ่ายทอดทางโลหิตไปยังผู้ป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง  ขอให้งดการบริจาคโลหิตเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและตนเอง การคัดกรองโลหิตบริจาคทางห้องปฎิบัติการ โลหิตที่ได้รับบริจาคจะถูกนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจแฝงมากับโลหิตบริจาค โดยเฉพาะ การตรวจหาเชื้อเอดส์ หรือ HIV  ถึงแม้ว่าปัจจุบัน…