พัฒนาวัคซีนโควิด

จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา)

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19”   วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าว จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 หลังพบในลิงได้ผลดี เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา) ความคืบหน้าการพัฒนา และผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็มที่สอง เตรียมพร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผนต่อไป ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย…

เลือดสำรองไม่พอ

เลือดสำรองไม่พอ วอนคนไทยบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน หมอนัดผ่าตัดเต็มรูปแบบ อุบัติเหตุเพิ่ม ต้องการโลหิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบโลหิตไม่เพียงพอ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 4 อนุญาตให้หน่วยงานหลายแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยได้ตามปกติ ทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 340 แห่ง มีการเบิกขอใช้โลหิตสูงกว่า 7,000 ยูนิตต่อวัน แต่สามารถจ่ายเลือดได้เพียง 50% เท่านั้น ด้าน ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือด โรคมะเร็ง และชีวาภิบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปรึกษาด้านวิชาการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า กรณีที่ไม่มีโลหิตในการรักษา ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ดังนี้ กรณีแพทย์ไม่มีโลหิตเพียงพอที่ใช้ในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ต้องใช้โลหิตจำนวนมากและเร่งด่วน อาทิ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน อุบัติเหตุ ตกเลือดหลังคลอดบุตร และเลือดออกในทางเดินอาหาร ฯลฯ  การรักษาผู้ป่วยกรณีดังกล่าว ต้องมีโลหิตสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัด 2 – 3 ยูนิต ในกรณีที่มีอาการรุนแรง…