covid-19 กับพื้นที่การสู้รบ

COVID-19 ภัยคุกคามต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่การสู้รบ

COVID-19 ภัยคุกคามต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่การสู้รบ จำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วนเพื่อรับมือ เจนีวา (ICRC) – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่าการต่อสู้กับ COVID-19 ในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์ความขัดแย้ง จะเกิดขึ้นมิได้เลยหากรัฐต่างๆ รวมทั้งองค์กรด้านมนุษยธรรมไม่ร่วมมือกันหาทางรับมืออย่างเร่งด่วน การดำเนินการวางแผนป้องกันรวมถึงการรับมือกับเชื้อไวรัสจำเป็นต้องเกิดขึ้นในทันทีก่อนที่มันจะแพร่กระจายเข้าไปในพื้นที่การสู้รบต่าง ๆ COVID-19 เป็นภัยคุกคามต่อชีวิตผู้คนแม้ในประเทศที่มีระบบสุขภาพอันแข็งแกร่ง และภัยคุกคามดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงมากขึ้นในประเทศที่ระบบสุขภาพถูกสงครามบ่อนทำลาย ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีผู้เดือดร้อนจากสถานการณ์ความขัดแย้งอาศัยรวมกันอยู่อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำสะอาด สบู่ และยารักษาโรค นอกจากนั้น ระบบสุขภาพที่ถูกสถานการณ์ความขัดแย้งทำให้อ่อนแอลงยังเป็นเหตุทำให้ศักยภาพของการตรวจหาเชื้อ การบริหารจัดการ และการติดตามผู้ป่วยลดลงตามไปด้วย นั่นยิ่งทำให้ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม “COVID-19 สร้างภาระอันหนักหน่วงให้กับระบบสุขภาพ สถานบริการสุขภาพหลายแห่งที่เราลงพื้นที่ปฏิบัติงานขาดแคลนแม้กระทั่งโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหนัก แต่สิ่งที่เราหวาดกลัวที่สุดก็คือ หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ก็จะทำให้ชุมชนที่เปราะบางที่สุดในโลกถูกทำลาย” ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าว ผู้ที่อยู่ในสถานคุมขังและค่ายผู้พลัดถิ่นทั่วโลก คือกลุ่มคนที่ ICRC เกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อันเลวร้ายที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน เนื่องจากระบบสุขภาพในพื้นที่ที่มีการสู้รบในประเทศต่าง ๆ เช่น ซีเรีย เยเมน ซูดานใต้ ไนจีเรียตะวันออก และอัฟกานิสถาน ต่างไม่พร้อมที่จะรับมือกับจำนวนผู้ป่วยโรค COVID-19 อันล้นหลาม…

อาสายุวกาชาดบริจาคโลหิต

อาสายุวกาชาดรวมพลังบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล

อาสายุวกาชาด สังกัดสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย รวมพลังบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย และเพื่อรณรงค์ให้ช่วยกันร่วมบริจาคโลหิต ในช่วงที่โลหิตขาดแคลน จากวิกฤต COVID-19 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย รวมใจต้านภัยโควิด

สภากาชาดไทยผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า 10 ล้านชิ้น พร้อมสนับสนุนชุดธารน้ำใจแก่ผู้ถูกกักกันโรคที่ยากไร้

สภากาชาดไทย จัดโครงการ “ร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า” โดยจับมือกับกระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 10 ล้านชิ้น ส่งมอบให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นด่านหน้าในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรค จำนวน 1 ล้านคน รวม 2 ล้านชิ้น และมอบให้กับประชาชนทั่วทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตได้ครบ 10 ล้านชิ้น ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน           นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะประธานกรรมการโครงการร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า กล่าวว่า “โครงการดังกล่าวฯ เป็นความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการช่วยกันส่งเสริมให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่สภากาชาดไทยจัดทำขึ้น เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำ สามารถป้องกันการรับและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19…