สภากาชาดไทยจัดพิธีลงนาม MOU การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยทางถนน (Road Safety)

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีลงนามทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ หรือ MOU เรื่องการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยทางถนน (Road Safety) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด บริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศ ไทย) จำกัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อการดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และมีปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สภากาชาดไทยกับความปลอดภัยทางถนน” ณ ห้องประชุม 1201 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สภากาชาดไทยให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยสำนักงานและหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา…

การบริจาคดวงตา

::::: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการบริจาคดวงตา ::::: ถาม · ดวงตาที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตอบ · ดวงตาที่จัดเก็บ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ 1. ส่วนกระจกตา (Cornea) ใช้ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้แก่ผู้ป่วยกระจกตาพิการ เพื่อ – เปลี่ยนกระจกตาที่ขุ่นให้ใส – เปลี่ยนกระจกตาที่ไม่เรียบให้เรียบ – รักษารูปร่างและรูปทรง ของกระจกตา – รักษาโรคกระจกตาติดเชื้อที่ควบคุมด้วยยาไม่ได้ จักษุแพทย์ที่ผ่าตัดอาจจะใช้กระจกตาทั้งชั้นความหนาเปลี่ยนให้แก่ผู้ป่วย หรือ แบ่งชั้นกระจกตาเพื่อผ่าตัดซ่อมแซมเฉพาะส่วนที่พิการ จะเห็นว่าดวงตาที่เราบริจาคนั้นสามารถนำไปใช้ช่วยผู้ป่วยได้อย่างน้อนที่สุด 2คน 2.ส่วนตาขาว (Sclera) ใช้ผ่าตัดตกแต่งเสริมเบ้าตาในผู้ป่วยที่ใส่ตาปลอม 3.ส่วนเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างกระจกตากับตาขาว (Limbal Tissue) เนื้อเยื่อบริเวณนี้มีสเตมเซลล์ หรือเซลล์แม่ของเซลล์ผิวกระจกตาที่สามารถนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมารักษาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีผังผืดที่ผิวกระจกตา ถาม · สายตาสั้นและเอียงมาก บริจาคดวงตาได้หรือไม่ ตอบ – ได้ ทุกๆคนสามารถบริจาคดวงตาได้ถึงแม้จะมีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ถ้ากระจกตายังใสเป็นปกติ ก็สามารถบริจาคดวงตาได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าได้รับการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ เช่น Lasik ,…

MOU ระหว่างสภากาชาดไทยและองค์การกาแดงแห่งชาติลาว พร้อมส่งมอบเรือท้องแบน และเวชภัณฑ์สำหรับงานบริการโลหิตให้แก่องค์การกาแดงแห่งชาติลาว

วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2566 นายเตช บุนนาค  เลขาธิการสภากาชาดไทยพร้อมคณะได้เดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทยและองค์การกาแดงแห่งชาติลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสภากาชาดทั้งสองประเทศ และมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรทั้งสององค์กร ในบริการด้านมนุษยธรรมและเพื่อขยายบริการด้านมนุษยธรรมที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนั้น สภากาชาดไทยได้ส่งมอบเรือท้องแบน 2 ลำ และเวชภัณฑ์สำหรับงานบริการโลหิต รวมมูลค่าหนึ่งล้านเจ็ดแสนบาท เพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์การกาแดงแห่งชาติลาว โดยมี ศ.ดร.พูทอน เมืองปาก ประธานองค์การกาแดงแห่งชาติลาว รับมอบ ณ สำนักงานองค์การกาแดงแห่งชาติลาว นครหลวงเวียงจันทน์ ทั้งนี้ ศ.ดร. พูทอนฯ ยังได้มอบเหรียญตรามิตรภาพจากนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว ให้แก่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยพลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อแสดงความขอบคุณและชื่นชมที่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในเหตุการณ์เขื่อนแตกในแขวงอัตตะปือ เมื่อปี 2561 ในโอกาสนี้ ศ.ดร. พูทอนฯ ได้นำนายเตชฯ และคณะเข้าเยี่ยมคารวะ ศาสตราจารย์ ดร. กิแก้ว ไขคำพิทูน รองนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว…

Work-Life Balance ปรับสมดุลชีวิตทำงาน

Work-life Balance คือ แนวคิดเกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการทำงานหนักเกินไป ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคนยุคใหม่ ทั้งที่ทำงานประจำและอาชีพอิสระ ประโยชน์ ช่วยให้มีความสุขกับชีวิตมากขึ้นเนื่องจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่องอาจสร้างผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่มีคุณภาพมากขึ้น วิธีการสร้าง Work-Life Balance ตั้งเป้าหมายการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันควรตั้งเป้าหมายและจัดรายการลำดับการทำงานในแต่ละวันเพื่อการจัดการเวลาได้ดีขึ้น เคารพเวลาพักผ่อนของตนเองเมื่อถึงเวลาพักผ่อนควรหยุดคิดถึงเรื่องงาน ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้านปิดโทรศัพท์มือถือ ใช้เวลาพักผ่อนเพื่อเป็นรางวัลให้กับความอดทนและตั้งใจของตนเองในแต่ละวัน เรียนรู้ที่จะปฏิเสธและต่อรองการขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเพื่อแบ่งเบาภาระงานเพื่อช่วยให้จดจ่อกับงานและผลิตงานที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ใช้เวลากับคนรอบตัวให้มากขึ้นการแบ่งเวลาให้กับคนรอบตัวหรือคนในครอบครัวจะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และช่วยบรรเทาความเครียดหรือความทุกข์ภายในจิตใจ จึงไม่ควรละเลยคนรอบตัวที่ควรให้ความสำคัญ ใส่ใจกับตนเองมากขึ้นควรแบ่งเวลาเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงพร้อมสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิต ที่มา : อ. นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่มา : อ. นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line

ทำอย่างไรดี เมื่อมีค่า PM 2.5 สูง

  ตรวจเช็กค่า P.M 25 ผ่านแอปพลิเคชันทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้าน หากดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) มากกว่า 100 ให้ระวังผลกระทบกับสุขภาพ งดออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น ห้ามวิ่งหรือ ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ในวันที PM 2.5 อยู่ในระดับสูง สวมหน้ากาก N95 ขณะออกจากบ้าน หน้ากาก N95 ที่ดี ควรได้รับการรับรองมาตรฐานจาก หน่วยงาน เช่น NIOSH กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษควรระมัดระวังมากขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ หรือ โรคปอด กลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ขณะอยู่ภายในอาคาร การเปิดครื่องฟอกอากาศ เพื่อลด PM 2.5 ช่วยได้ แต่ไม่แนะนำเครื่องฟอกอากาศ ประเภทผลิตก๊าซโอโซน (ozone air purifiers) ภายในห้องอาคารเพราะอาจทำให้อาการโรคหืดกำเริบได้ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน งดเผากระดาษเงิน กระดาษทองในที่โล่ง งดจุดธูปสั้นในบ้านเพราะยิ่งจะทำให้ค่าปริมาณ PM 2.5 มีปริมาณขึ้นสูง ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2563 ที่มา…

ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก IFRC เยี่ยมชมกิจการสภากาชาดไทย

วันที่ 31 มกราคม 2566 นายอเล็กซานเดอร์ แมทธิว ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) เข้าเยี่ยมชมกิจการของสภากาชาดไทย พร้อมทั้งเข้าพบผู้บริหารและเยี่ยมชมหน่วยงานภารกิจสำคัญ อาทิ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สถานเสาวภา โรงผลิตเซรุ่มแก้พิษงู และพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย นายอเล็กซานเดอร์ แมทธิว  มีประสบการณ์ทำงานในด้านมนุษยธรรมมากว่า 20 ปี โดยก่อนร่วมงานกับ IFRC ได้เคยปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ สภากาชาดอังกฤษ

รู้จัก วัณโรค

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อมัยโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งติดต่อกันได้ทางการหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าไป จากการพูด จาม ไอ ของผู้ป่วยวัณโรค ซึ่งวัณโรคสามารถเป็นได้ทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ที่พบบ่อยคือ “วัณโรคปอด” อาการของวัณโรคปอด มีดังนี้ ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเลือดปน ไข้เรื้อรัง เหงื่อออกมากตอนกลางคืน น้ำหนักลด การรักษา สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา การป้องกัน การป้องกันตนให้ห่างไกลจากวัณโรค คือ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ภูมิต้านทานแข็งแรงต่อสู้กับเชื้อได้ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ที่มีอาการไอ ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

การประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่โครงการสวางคนิวาส สภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 นางสาวลดาวัลย์ ยะโสธร ผู้อำนวยการกลุ่มงานสนับสนุนองค์กร และ ศ.เกียรติคุณ ดร.เกษม จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นประธานร่วมการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ ในพื้นที่โครงการสวางคนิวาส สภากาชาดไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)  มูลนิธิชัยพัฒนา และโครงการชลประทานสมุทรปราการ ณ สำนักงานอาคารที่พักผู้สูงอายุสวางคนิเวศ สภากาชาดไทย ที่ประชุมได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวางใน 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านกฎหมาย  ด้านเทคนิค วิศวกรรม และสถาปัตยกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม จากนั้นได้ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ตั้งของแท่งคอนกรีตที่ขวางทางระบายน้ำใต้สะพาน ที่ติดตั้งปั้มน้ำเสีย ตู้ควบคุมไฟฟ้า บ่อพักน้ำเสีย (ของเดิมซึ่งไม่ได้มีการใช้งาน) และการทำงานของประตูน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน โดยมีข้อสรุปในการดำเนินการต่อไปร่วมกัน ดังนี้ ทุกหน่วยงานจะไปค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคคลอ้างอิง ที่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ สำหรับในประเด็นสิ่งแวดล้อม  โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะจัดทำรายงานแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ และนำส่งให้กับสภากาชาดไทยเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เบื้องต้นขอให้สถานพักฟื้นสวางคนิวาส เปิด-ปิด ประตูระบายน้ำตามการขึ้น-ลงของน้ำตามธรรมชาติ  เพื่อให้น้ำมีการไหลเวียนมากขึ้น ให้น้ำดีไล่น้ำเสียออก…

ผู้ประสานงานโครงการฯ IFRC เข้าพบเพื่อแนะนำตัว

วันที่ 19 มกราคม 2566 พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ให้การต้อนรับ นายปาสคาร์ล บูร์แชร์ ผู้ประสานงานโครงการ สำนักงานกรุงเทพฯ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC)  และหารือประเด็นความร่วมมือด้านมนุษยธรรมระหว่างทั้งสององค์กร นายปาสคาร์ล บูร์แชร์ มีประสบการณ์ทำงานในขบวนการกาชาด มากว่า 15 ปี โดยก่อนที่จะมารับตำแหน่งที่ประเทศไทย ได้เคยปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ประสานงานด้านปฏิบัติการและการฟื้นคืนสู่สภาวะปกติที่ IFRC สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ประเทศอินโดนีเซีย

สภากาชาดไทย ร่วมกับ กทม. “ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง”

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธาน ปลูกต้นไม้ 2,000 ต้น ในโครงการ “ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง” ของกทม. ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ โคก หนอง นา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสภากาชาดไทยและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสร้างความตระหนัก และเป็นองค์กรแห่งการสนับสนุนแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ซึ่งสภากาชาดไทยได้ให้ความสำคัญโดยกำหนดให้ “ภาวะโลกร้อน” เป็นหนึ่งใน Central Theme เพื่อให้ทุกหน่วยงานภายในสภากาชาดไทยได้กำหนดเป็นนโยบายและแผนงานในการขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมใน ปี 2566 สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย จึงจัดโครงการ “รวมพลังอาสาสมัครกาชาด ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่น ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สาเหตุหนึ่งของปัญหา และเป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะผู้บริหารสภากาชาดไทย คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย และกรุงเทพมหานคร ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม…