ครัวพระราชทาน บุรีรัมย์

“ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” จังหวัดบุรีรัมย์

  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ โดมสวนรมย์บุรี 200 ปี เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในระหว่างวันที่ 11 – 20 พฤษภาคม 2564  เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.00 น. พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” มอบอาหารพระราชทาน จำนวน 3,500 ชุด ให้แก่ผู้แทนชุมชนและนายอำเภอ แบ่งเป็นอำเภอเมืองบุรีรัมย์ 1,500 ชุด และอำเภอคูเมือง 2,000 ชุด ณ โดมสวนรมย์บุรี 200…

สาส์นเนื่องในโอกาสวันกาชาดโลก 8 พฤษภาคม 2564

วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปีตรงกับวันกาชาดโลก วันสำคัญในการเฉลิมฉลองหลักการ คุณค่า ประวัติศาสตร์ และผลกระทบที่กลุ่มองค์กรกาชาดได้ทำงานอย่างหนักให้เกิดขึ้น แท้จริงแล้ววันนี้คือวันเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของนายอังรี ดูนังต์ ในปี 2371 บิดาผู้ก่อตั้งกลุ่มองค์กรกาชาด เขาได้บันทึกเรื่องราวอันเจ็บปวดในสมรภูมิรบที่เมืองโซลเฟริโน ในอิตาลี ปี 2402 ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า ความทรงจำแห่งโซลเฟริโน ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของวิสัยทัศน์ในการทำงานด้านมนุษยธรรมและนำไปสู่การเกิดขึ้นขององค์กรอาสาสมัครบรรเทาทุกข์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหลักการที่ถูกนำมาปฏิบัติในการทำงานของกลุ่มองค์กรกาชาด ช่วงเวลาเกือบสองศตวรรษนับตั้งแต่การริเริ่มของนายอังรี ดูนังต์ในการก่อตั้งองค์กรอาสาสมัครบรรเทาทุกข์ในทุกประเทศ ธรรมชาติของสงครามและภัยพิบัติอื่นๆได้เปลี่ยนแปลงไปแต่สิ่งที่ยังคงอยู่เช่นเดิมคือความเจ็บปวดของมวลมนุษยชาติ หลายปีที่ผ่านมาสันติภาพไม่เคยเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ในทางกลับกันเรายังคงเห็นความเจ็บปวดขยายตัวเพิ่มขึ้น ปีที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของโลกต่อการแพร่ระบาดของโรคร้าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็ได้สะท้อนให้เห็นได้อย่างเด่นชัดถึงความทุ่มเทและความสำเร็จในการทำงานของอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ของกลุ่มองค์กรกาชาด ความท้าทายที่เกิดขึ้นในโลกทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นแต่ท่ามกลางสภาวการณ์ของการแพร่ระบาด ความเร่งด่วนด้านภาวะโลกร้อน และภยันตรายนานัปประการจากชุมชนที่ตกอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงของภัยพิบัติและความขาดแคลนแต่ที่ปลายอุโมงค์ยังคงมีความหวัง ความหวังนี้ถักทอขึ้นผ่านการลงมือกระทำด้วยความกรุณาจากคนคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งไปยังคนที่อยู่ในชุมชนทั้งน้อยใหญ่ทั่วโลก เมื่อใดก็ตามที่เกิดวิกฤตจะมีอาสาสมัครของกลุ่มองค์กรกาชาดที่พร้อมทำงานเพื่อให้การสนับสนุนผู้คนที่ได้รับผลกระทบและทำให้แน่ใจว่าพวกเขาเหล่านั้นจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและกลับไปใช้ชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีโดยเร็วที่สุด การทำงานของเหล่าอาสาสมัครเหล่านี้เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อ เนื่องในโอกาสวันกาชาดโลก เราจึงขอถือโอกาสนี้ในการยกย่องอาสาสมัคร สมาชิก และ เจ้าหน้าที่หลายล้านคนที่ทำงานหนักในทุกๆวันเพื่อให้การป้องกันและลดทอนความเจ็บปวดของมวลมนุษยชาติ พวกเขาทำงานในแนวหน้าท่ามกลางวิกฤต อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก และ เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวเอง พวกเขาสมควรได้รับการขอบคุณจากเรา การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมความสำคัญต่อการทำหน้าที่ของกลุ่มองค์กรกาชาดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสภากาชาดประเทศต่างๆ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) และ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง เราเข้าถึงผู้คนหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดในเกือบทุกประเทศทั่วโลกและยังคงตอบสนองต่อภัยพิบัติ การขัดกันทางอาวุธและวิกฤตอื่นๆ เราทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น…

บริจาคพลาสม่ารอบ 2

ถึงเวลาช่วยชาติ รอบ 2 ชวนผู้ป่วย COVID-19 เพศชาย ที่หายดีแล้ว ร่วมบริจาคพลาสมา

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนผู้ป่วย COVID-19 เพศชายที่หายดีแล้ว สุขภาพแข็งแรง มาร่วมบริจาคพลาสมา เพื่อนำไปช่วยเสริมการรักษา ลดความรุนแรงโรคให้แก่ผู้ป่วย COVID-19 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากการรับสมัครผู้บริจาคพลาสมาในรอบแรกปีที่แล้ว ให้กลับมาเป็นฮีโร่ในโครงการวิจัยการใช้พลาสมาเพื่อเสริมการรักษาโรค เนื่องจากพลาสมาของผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส สามารถนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค โดยยับยั้งไวรัสก่อนที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ปอดขั้นรุนแรงได้ ซึ่งพลาสมาที่รวบรวมได้ในขณะนี้ได้ถูกเบิกใช้จนหมดแล้วจากการที่มีผู้ป่วยอาการหนักจำนวนมาก โดยมีการใช้ในผู้ป่วยแล้วกว่า 240 ราย ทั้งนี้ จากข้อมูลการรับบริจาคพลาสมาที่ผ่านมา พบว่าผู้สมัครเพศชายจะมีคุณสมบัติในการบริจาคพลาสมาได้มากกว่าเพศหญิง เนื่องจาก มีภูมิต้านทานต่อเชื้อ COVID-19 มากกว่า และรักษาระดับอยู่ในร่างกายนานกว่าเพศหญิง มีเส้นเลือดบริเวณข้อพับแขนชัดเจนกว่าเพศหญิง ความเข้มโลหิตผ่านเกณฑ์มากกว่าเพศหญิง ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนของผู้รับมากกว่าเพศหญิง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค COVID-19 จะมีประโยชน์อย่างมากในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม และมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ หากได้ให้ตั้งแต่เริ่มแรกจะได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว พบว่าสามารถป้องกันการดำเนินโรคไม่ให้ทรุดลง…

ฉีดวัคซีนโลตัสพระราม4

สภากาชาดไทย ร่วมกับสำนักอนามัย จัดทีมแพทย์ พยาบาลเสริมทัพฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ผู้มีความเสี่ยงเขตคลองเตย

สภากาชาดไทย ร่วมกับสำนักอนามัย จัดทีมแพทย์ พยาบาลเสริมทัพฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ผู้มีความเสี่ยงเขตคลองเตย อนาคตเตรียมเปิดรับสมัครอาสาสมัครแพทย์ พยาบาล และมอบชุดธารน้ำใจโควิด ฯ สำหรับผู้กักตัว 14 วัน   วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ ทีมแพทย์ พยาบาลของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ที่ปฏิบัติงานร่วมกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร นำทีมโดย แพทย์หญิงกานดา ลิมิตเลาหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ปฏิบัติงานฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  ให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ชุมชนแออัดเขตคลองเตย โดยสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครตั้งเป้าในการฉีดวัคซีนประมาณวันละ 1,500 ราย ณ โลตัส พระราม 4 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เพื่อช่วยควบคุมโรคระบาดในพื้นที่คลองเตย กรุงเทพมหานคร ด้านนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ กล่าวว่า “วันนี้สภากาชาดไทยมาร่วมสนับสนุน กทม.ในการระดมฉีดวัคซีนให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดหนักสุดในตอนนี้ ซึ่งก็คือพื้นที่คลองเตย มีทั้งทีมแพทย์และพยาบาลที่มาปฏิบัติงาน นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้เราจะระดมอาสาสมัครของสภากาชาดไทย ที่เป็นแพทย์หรือพยาบาลที่มีจิตอาสา มาช่วยภาครัฐในการระดมฉีดวัคซีนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอีก…

เชิญชวนบริจาคโลหิตเนื่องในวันกาชาดโลก

8 พฤษภา กาชาดโลก รวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต มั่นใจ ปลอดภัย ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนคนไทยทุกคนรวมพลังช่วยกาชาด ร่วมใจบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย มั่นใจ ปลอดภัย ฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน เนื่องในวันกาชาดโลก 8 พฤษภาคม 2564 (World Red Cross Red and Crescent Day 2021) ระหว่างวันที่ 3-8 พฤษภาคม 2564 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า วันกาชาดโลก ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของนายอังรี ดูนังต์ ผู้ให้กำเนิดกาชาดสากล สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC)…

ติมอร์-เลสเต

สภากาชาดไทยสนับสนุนเงินช่วยเหลือเหตุพายุไซโคลนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

สภากาชาดไทยได้ส่งหนังสือแสดงความเสียใจต่อสภากาชาดติมอร์-เลสเต และสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการตอบโต้ภัยพิบัติฉุกเฉินเป็นจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 314,700 บาท เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ต่อเหตุพายุไซโคลนในพื้นที่กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต อันเป็นผลมาจากอุทกภัยและดินถล่ม ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2564 เหตุภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 42 คน ประชาชนกว่า 10,000 คนได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายด้านที่พักอาศัย ต้องการที่พักพิงชั่วคราว และความต้องการด้านสาธารณูปโภค เช่น ขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม   สภากาชาดติมอร์-เลสเตได้ออกปฏิบัติการตอบโต้ภัยพิบัติในทันทีด้วยการลงพื้นที่มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ ช่วยอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ สร้างที่พักพิงชั่วคราว รวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านจิตใจและสวัสดิการอื่น ๆ แก่ผู้ประสบภัย รวมถึงร้องขอความช่วยเหลือในการตอบโต้ภัยพิบัติจากกองทุนเพื่อการบรรเทาภัยพิบัติฉุกเฉิน (The Disaster Relief Emergency Fund – DREF) สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC)

ช่วยกาชาดเมียนมา

สภากาชาดไทยสนับสนุนเงินช่วยเหลือปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมของสภากาชาดเมียนมา

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 สภากาชาดไทยได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมจำนวน 1,000,000 บาท แก่สภากาชาดเมียนมา ผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง โดยศาสตราจารย์ ดร.ติน ซอ โซ เลขาธิการสภากาชาดเมียนมา รับมอบเงินบริจาคจากเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ณ สถานเอกอัครราชทูต ขณะนี้ สภากาชาดไทยกำลังดำเนินการเตรียมสิ่งของบริจาคมูลค่า 2,000,000 บาท เพื่อจัดส่งให้สภากาชาดเมียนมา ก่อนหน้านี้ สภากาชาดไทยส่งหนังสือแสดงความเสียใจแก่สภากาชาดเมียนมาต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา และได้เปิดรับบริจาคจากสาธารณชนเพื่อสนับสนุนสภากาชาดเมียนมาอีกด้วย สภากาชาดเมียนมามุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฐมพยาบาลแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว แต่ยังขาดแคลนอุปกรณ์ปฐมพยาบาล รถพยาบาล เปลแบบพับได้ รองเท้าสำหรับเดิน และอุปกรณ์อื่นๆ อาหาร เครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่กาชาดและอาสาสมัคร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ที่ประชุมสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 10 ประเทศ รวมถึงสภากาชาดติมอร์-เลสเต ตกลงที่จะแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสภากาชาดเมียนมาและสนับสนุนปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมของสภากาชาดเมียนมา ท่ามกลางเหตุการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ครัวพระราชทาน ประจวบฯ

“ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2564  เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในวันที่ 27 เมษายน 2564 นายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด เป็นประธานในพิธีเปิด “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” มอบอาหารพระราชทาน จำนวน 3,000 ชุด ให้แก่ผู้แทนในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แบ่งเป็น อำเภอหัวหิน จำนวน 1,500 ชุด อำเภอสามร้อยยอด จำนวน 200 ชุด อำเภอปราณบุรี จำนวน 200…

128 ปี สภากาชาดไทย

กำเนิดสภากาชาดไทย จากร.ศ.112 สู่ 128 ปี เพื่อมนุษยธรรม

สภากาชาดไทย ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลและเป็นองค์การสาธารณกุศลระดับชาติคู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน ถือกำเนิดขึ้นในรัตนโกสินทรศก 112 ขณะนั้นได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤตการณ์ ร.ศ.112” เหตุการณ์ทวีความรุนแรงจนเกิดการสู้รบและส่งผลให้มีทหารบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ไม่มีองค์กรการกุศลใด ๆ ให้ความช่วยเหลือและให้การรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บเหล่านั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จึงได้ชักชวนและรวบรวมสตรีอาสาสมัคร เรี่ยไรทุนทรัพย์ จัดตั้งสภาอุณาโลมแดง เพื่อจัดซื้อยา สิ่งของที่ควรแก่การพยาบาลทหารและประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ         ต่อมา เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ขึ้น ในวันที่ 26 เมษายน ร.ศ.112 หรือพุทธศักราช 2436 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาสภากาชาดไทย ภายหลังชื่อ “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดสยาม” ในปี 2449 และเปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดไทย” ตั้งแต่ปี 2482 จวบจนปัจจุบัน 26 เมษายน 2564 สภากาชาดไทยครบรอบ 128 ปี ยังคงสร้างความเชื่อมั่นและดำเนินการภายใต้พันธกิจหลัก…

ครัวเคลื่อนที่

ครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย ร่วมฝ่าวิกฤติ COVID-19

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จัดตั้ง “ครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย ร่วมฝ่าวิกฤติ COVID-19” ดำเนินการโดยสถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ผลิตอาหารปรุงสุก ณ บริเวณสถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ เพื่อมอบให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ที่กักตัว และบุคลากรทางการแพทย์ ในพื้นที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี ในมื้อเที่ยงของทุกวัน โดยหลังจากการปรุงและบรรจุกล่องแล้ว จะมีอสม.ของแต่ละพื้นที่เป็นผู้จัดส่งต่อไป ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น