งานวันเบาหวานโลก

ทรงเปิดงานวันเบาหวานโลก

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 เวลา 14.38 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จออกพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ ระเบียงรมณีย์ ชั้น 14 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทรงเปิดงานวันเบาหวานโลก และทอดพระเนตรนิทรรศการ ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเบาหวาน ฮอร์โมน และเมตะบอลิสม จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง ควบคุมปัจจัยเสี่ยงของตนเองที่อาจนำมาซึ่งโรคเบาหวานในอนาคต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน รวมทั้งเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในด้านการดูแลสนับสนุนผู้ป่วยเบาหวานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภายในงานจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนบริการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ให้บริการคำปรึกษาเรื่องการดูแลของสุขภาพ  พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “C-diabetes” เพื่อการดูแลคนไข้เบาหวานและคนไข้เบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างครบวงจรผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต  แอปพลิเคชันประกอบด้วยข้อมูลความรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น การปฏิบัติตัวเมื่อน้ำตาลต่ำ และการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถแจ้งเตือนการกินยาได้ ตั้งค่าให้ส่งข้อความแจ้งเตือนกับผู้ติดต่อฉุกเฉินได้ และการนัดหมายของแพทย์ได้ นอกจากนี้สามารถถ่ายรูปอาหารแต่ละมื้อที่สอดคล้องกับผลน้ำตาลในเลือดมื้อนั้นๆ และแจ้งเตือนการนัดหมายของแพทย์ได้อีกด้วย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดบริการทางการแพทย์ขั้นสูงเฉลิมพระเกียรติฯ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าวการจัด “โครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูง” ให้บริการผู้ป่วยโรคซับซ้อนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกว่า 22 โครงการ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 67 พรรษา ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดทำโครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นปีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 67 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่างๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่า เช่น กิจการด้านสาธารณสุข การอาชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทห่างไกล การจัดโครงการบริการทางการแพทย์ขั้นสูงนั้นเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี โดยมุ่งช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซับซ้อนแก่ประชาชนทุกระดับ…

วันรักษ์เปลือกตา LID DAY 2019

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย ศูนย์เลเซอร์สายตา ฝ่ายจักษุวิทยา และฝ่ายการพยาบาล จัดงานเสวนาวันรักษ์เปลือกตา LID DAY 2019 เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคตาแห้งชนิดท่อน้ำมันที่เปลือกตาอุดตัน และได้รับเกียรติจากญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ และคุณแป้ง-นวลพรรณ ล่ำซำ มาร่วมสร้างสีสันและแบ่งปันประสบการณ์ภายในงาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รองศาสตราจารย์ แพทหญิงงามจิตต์ เกษตรสุวรรณ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคสายตาผิดปกติแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนเป็นภารกิจสำคัญและต่อเนื่องของศูนย์เลเซอร์สายตา โดยแต่ละปีจะมีการกำหนดหัวข้อการจัดงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งในปีพ.ศ.2562 กำหนดจัดงานวันรักษ์เปลือกตา (LID DAY) ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2562 เน้นการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาโรคตาแห้งชนิดท่อน้ำมันที่เปลือกตาอุดตัน (Meibomian Gland Dysfunction -MGD) ซึ่งพบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคตาแห้ง จากรายงานการรักษาผู้ป่วยโรคสายตาผิดปกติที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์เลเซอร์สายตา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือเลเซอร์ได้ทันที เนื่องจากมีภาวะโรคตาแห้งจากความผิดปกติของน้ำตา (Dry Eye)  ซึ่งน้ำตามีทั้งหมด…

แถลงข่าวการรักษาคุณวินัย ไกรบุตร

แถลงข่าวการรักษาคุณหัฒศนัย (วินัย) ไกรบุตร อย่างเป็นทางการ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยนายหัฒศนัย ไกรบุตร หรือวินัย ไกรบุตร ร่วมแถลงข่าวการรักษาอาการป่วยอย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุม 1210 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์   ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า  โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกาย ภูมิต้านทานของคนเรานั้นมีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม และมะเร็ง คล้ายกับตำรวจ ทหาร ที่คอยปกป้องประเทศ ต้องฆ่าศัตรูโดยต้องไม่ทำร้ายประชาชนของตนเอง แต่บางครั้งภูมิต้านทานเหล่านี้ก็จำผิด เลยกลับมาทำอันตรายอวัยวะของตนเองทำให้เกิดโรค แพ้ภูมิ ตัวเองขึ้น โรคตุ่มน้ำพอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคหายาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอก รอยโรคสามารถพบได้ทั้งผิวหนังและเยื่อบุ โรคที่พบบ่อย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคเพมฟิกัสและโรคเพมฟิกอยด์ ในกรณีคุณเมฆ-หัฒศนัย (วินัย) แพทย์ได้ตรวจในหลายวิธีพบว่าเป็นโรคเพมฟิกอยด์ เกิดจากมีการหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้าออกจากชั้นหนังแท้ จะเกิดการแยกชั้นของผิวหนังที่ลึกกว่า แต่ก็มักจะกินบริเวณไม่กว้างมากนัก ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการผื่นแดงคันนำมาก่อน ต่อมาเริ่มมีตุ่มน้ำใสขนาดต่างๆ กัน โดยตุ่มน้ำมีลักษณะพอง แตกยากหรืออาจแตกออกเป็นแผลถลอก รอยโรคที่เยื่อบุพบได้น้อยกว่าโรคเพมฟิกัส และมักไม่เจ็บ โดยทั่วไปความรุนแรงของโรคมักน้อยกว่าเพมฟิกัส โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจะใช้ยาสเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกันในระยะแรกและค่อยๆ ปรับตามความเหมาะสม การรักษาที่ต้นเหตุบางทีจะไม่เห็นผลในทันที อาจจะใช้เวลานานกว่าแต่หวังผลระยะยาวว่าจะคุมโรคได้ดีกว่า   นายหัฒศนัย…

60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็น

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนาและมอบรางวัลชนะเลิศ “60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็น” โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการให้บริการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคกระจกตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ ชั้น 13 โซนB (ลานเอนกประสงค์) อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจและทราบแนวทางการรักษาเกี่ยวกับโรคกะจกตาพิการ และการผ่าตัดด้วยวิธีที่ดีที่สุด ตรงตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีใหม่ จากความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาครั้งแรก เมื่อปี 2502 ตลอดระยะเวลา 60 ปี เทคโนโลยีในการเปลี่ยนกระจกตาก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ ปัจจุบันกระจกตาที่ได้รับบริจาคจาก ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 1 ดวง สามารถแยกเป็นชั้นต่าง ๆ ได้ และสามารถรักษาผู้ป่วยได้หลายราย นอกจากการเสวนาให้ความรู้เรื่องโรคกระจกตาพิการ และการมอบรางวัลแก่ผู้ออกแบบโลโก้ 60 ปี ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มิติใหม่แห่งการมองเห็นแล้วยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องของการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคกระจกตา การออกบูธรับบริจาคดวงตา และ การออกบูธตรวจวัดสายตาฟรีสำหรับประชาชนด้วย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แถลงความสำเร็จรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว “ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า” ณ ห้องประชุม อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มุ่งมั่นพัฒนาวิธีดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบครบวงจร และกำลังจะดำเนินการโครงการก่อสร้างศูนย์บูรณาการวิจัยและรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อมุ่งเน้นการวิจัยนวัตกรรมที่สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลรักษาโรคมะเร็งควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาผู้ป่วย หนึ่งในโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่คือ การพัฒนาการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์บำบัด ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัด นอกจากนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้สร้างห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษที่สามารถผลิตเซลล์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงพัฒนาบุคลากรและระบบที่มีคุณภาพในด้านการผลิต ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอรับรองตามมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) กล่าวว่า TCELS เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำ “Mapping การวิจัยและ Roadmap การวิจัยและการให้บริการทางการแพทย์ด้านเซลล์บำบัดและยีนบำบัดในประเทศไทย” และสนับสนุนโครงการวิจัยที่สำคัญทางด้านนี้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรักษาในกลุ่มโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำและเสียชีวิต…

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรมเพื่อประชาชน เน้นการนอนสำคัญต่อชีวิต

วันที่ 11 มีนาคม 2562 ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายการแพทย์และวิจัย รศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม โรคทางการหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ และหัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กรรมการแพทยสภา และรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ นายกสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดกิจกรรม “วันนอนหลับโลก” World Sleep Day 2019 ; Healthy Sleep, Healthy Aging ภายใต้คำขวัญ “นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว” ซึ่งกิจกรรมภายในงานได้รับเกียรติจากคุณเป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ ศิลปินนักแสดงมาร่วมพูดคุยเรื่องความสำคัญของการนอน ณ ชั้น 14 ระเบียงรมณีย์ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายการแพทย์และวิจัย กล่าวว่า การนอนเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ร่างกายของคนเราจะได้หยุดพักและฟื้นฟู ซ่อมแซม และปรับสมดุลต่างๆ…

งานวันการได้ยินโลกประเทศไทย 2562

วันที่ 3 มีนาคม 2562  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสถาบันการแพทย์ต่างๆ จัดงานวันการได้ยินโลก 2562  (World Hearing Day Thailand 2019) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน ให้ความรู้เกี่ยวการตรวจประเมินการได้ยิน และการคัดกรองการได้ยินในเด็ก ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการได้ยิน และให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางป้องกันอันตรายจากเสียง ตั้งแต่เวลา 07.00 – 13.00 น. ณ สวนลุมพินี นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “กระทรวงสาธารณสุข มีวิสัยทัศน์ด้านสาธารณสุขให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า และเพื่อให้กระชาชนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ทุกระดับชั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ทำบันทึกความร่วมมือกับราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันนโยบายด้านหู คอ จมูก เนื่องจากปัญหาการได้ยินเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่กระทรวงให้ความสำคัญและต้องการให้ประชาชนมีการได้ยินที่ดี”…

“เป็นมะเร็งก็มีลูกได้” บริการด้านการรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ในผู้ป่วยมะเร็ง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.30 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานเสาวนาวิชาการ “เป็นมะเร็งก็มีลูกได้” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุบัติการเกิดโรคมะเร็งและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษามะเร็งในปัจจุบัน โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นประธานเปิดงานเสวนา ณ ห้องประชุมจรัญพัฒน์ ชั้น 6 อาคารอุปการเวชชกิจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ส่งผลให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสหายจากมะเร็งได้  อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด มักส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสูญเสียความสามารถในการเจริญพันธุ์และการมีบุตรภายหลังจากการรักษามะเร็งหายแล้ว  หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งแต่ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ได้แก่ โรคทางระบบโลหิตวิทยา เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เป็นต้น โดยผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะรังไข่หยุดทำงานและอาจจะไม่สามารถมีบุตรได้ในอนาคต  ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านเทคโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology; ART) ได้มีการพัฒนาวิธีการเก็บรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ (Fertility Preservation)…

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวจัดงาน “วันการได้ยินโลก 2562”

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสถาบันการแพทย์ต่างๆ ร่วมแถลงข่าววันการได้ยินโลก 2562  World Hearing Day Thailand 2019 พร้อมทั้งจัดเสวนาให้ความรู้เรื่อง สถานการณ์ปัญหาโรคหูในประเทศไทยและการได้ยินในเยาวชนไทย รวมถึงความสำคัญของ World Hearing Day Thailand 2019 ณ ชั้น 14 ระเบียงรมณีย์ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นพ.ศัลยเวทย์ เลขะกุล ที่ปรึกษามูลนิธิหู คอ จมูกชนบท กล่าวว่า “งาน World Hearing Day 2019  ทางองค์การอนามัยโลกมุ่งเน้นเรื่องของการตรวจพบปัญหาการได้ยินและฟื้นฟูการได้ยินตั้งแต่ระยะแรก (early identification and intervention…