พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์

พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล รับพระราชทาน หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564

พิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่

พิธีพระราชทานเพลิงศพ “อาจารย์ใหญ่” ประจำปีการศึกษา 2562

วันที่ 13 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน ในพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 261 ท่าน ณ วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาและไว้อาลัยแด่ผู้อุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษาหรืออาจารย์ใหญ่ของนิสิตแพทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนโลงศพและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง หลังจากพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) จะนำร่างอาจารย์ใหญ่แยกฌาปนกิจตามวัดต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 12-13  ธันวาคม 2563 จำนวน 25  วัด ได้แก่ 1.วัดคลองเตยใน 2.วัดเทวสุนทร 3.วัดสีกัน 4.วัดประยุรวงศาวาส 5.วัดราชสิทธาราม 6.วัดเทพลีลา 7.วัดบึงทองหลาง 8.วัดบางบัว 9.วัดพระศรีมหาธาตุ…

เสวนาเอดส์

“WALK TOGETHER : เอชไอวี อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา”

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฝ่ายบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนา “WALK TOGETHER : เอชไอวี อยู่ร่วมกันได้ ไม่ตีตรา” เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ชั้น 10 อาคาร สก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข งานเสวนาดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ภายใต้ โครงการเครือข่ายยุติเอดส์ในกรุงเทพมหานคร Network to Ending AIDS in Bangkok (NEAB) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและลดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการ ภายในงานเสวนา…

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน ตลอด 24 ชั่วโมง

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน ตลอด 24 ชั่วโมง      ที่ชั้น 1 อาคารภุมิสิริมังคลานุสรณ์ โดยผู้ป่วยสามารถเดินทางมาใช้บริการได้ทางประตู 6 ด้านถนนราชดำริ ตรงข้ามสวนลุมพินี

จุฬาฯ-ใบยา

“จุฬาฯ – ใบยา” วัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ  และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา…

พัฒนาวัคซีนโควิด

จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา)

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “CU-Cov19”   วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าว จุฬาฯ พัฒนาวัคซีนโควิด-19 หลังพบในลิงได้ผลดี เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ (จิตอาสา) ความคืบหน้าการพัฒนา และผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็มที่สอง เตรียมพร้อมเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผนต่อไป ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย…

มอบไม้เท้าให้พม.

สภากาชาดไทย มอบ “ไม้เท้าเลเซอร์พระราชทาน” ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันที่ 15 มิถุนายน 2563 เวลา 11.00 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีรับมอบไม้เท้าเลเซอร์พระราชทาน จากโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จำนวน 100 ชิ้น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ลดปัญหาการเดินติด การทรงตัว และเพิ่มความมั่นคงในการก้าวเดินให้ผู้สูงอายุ จากสภากาชาดไทย โดยมี นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝ่ายบริการ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติแห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะผู้บริหารสภากาชาดไทย คณะผู้บริหารกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าร่วมในพิธี ณ บริเวณด้านหน้าห้องประชุม ชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับไม้เท้าเลเซอร์พระราชทานนี้ เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบและผลิตโดย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน…

เสวนาวิชาการ Disease X

เสวนาวิชาการ Disease X : ปฐมบทไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

วันที่ 20 มกราคม 2563 เวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์นายแพทย์รื่นเริง  ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการ “Disease X : ปฐมบทไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันจัดขึ้น ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงปฐมบทไวรัสจากสัตว์สู่คนว่า “ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าหายนะที่เกิดขึ้นกับมนุษย์มีส่วนหรือมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากเชื้อโรค โดยเฉพาะไวรัสที่ผ่านมาจากสัตว์โดยตรงสู่คนหรือผ่านตัวกลาง คือ เห็บ ยุง ไร ริ้น แมลง เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เริ่มเป็นที่ทราบว่า 60-70% ของเชื้อก่อโรคในคนมีต้นตอมาจากสัตว์ทั้งสิ้น และมีศักยภาพในการทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้ การที่เชื้อจะเข้าคนสู่คนได้นั้นจะต้องมีการสมยอมให้เชื้อผ่านเข้าเซลล์และเนื้อเยื่อได้…

Home Health Care

True 5G ร่วมกับ ZTE สนับสนุนโครงการ “Home Health Care”

วันที่ 6 มกราคม 2563 กลุ่มทรู ภายใต้ True 5G World of Health and Wellness ร่วมกับ ZTE สนับสนุนเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ที่รองรับเทคโนโลยี 5G เพื่อร่วมพัฒนา และอำนวยความสะดวกในการติดตามรักษาผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่กลับไปพักดูแลตัวเองต่อเนื่องที่บ้าน ในโครงการ “Home Health Care” (การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน) โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์  วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นางสาวเฉลาศรี เสงี่ยม หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และรศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ หัวหน้าหน่วย G2 กับ Trauma ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รับมอบจากนายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G  บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และ มร. หยาง ลี่ ยู…

ไม่ล้มไม่พรุน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดงานสูงวัยใส่ใจ ไม่ล้ม ไม่พรุน

วันที่ 19 ธันวาคม 2562 เวลา 08.15 น. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน “สูงวัยใส่ใจ ไม่ล้ม ไม่พรุน” โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และกิจกรรมประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม และโรคกระดูกพรุน เพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม และโรคกระดุกพรุนซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ณ ตึก ส.ธ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคกระดูกพรุน คือ โรคของกระดูกที่มีความแข็งแกร่งและคุณภาพของกระดูกลดลง เป็นผลให้กระดูกมีความเปราะบาง เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักง่ายขึ้น ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงแค่มีการกระแทกเบา ๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จาม หรือลื่นล้มก็ทำให้กระดูกหักได้ ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา           วิธีการป้องกันการหกล้มมี 3 วิธี คือ ป้องกันจากปัจจัยภายใน ได้แก่ ฝึกการทรงตัว ออกกำลังเพิ่มความเข้มแข็งของกล้ามเนื้อและฝึกเดิน เรื่องความดันโลหิตต่ำซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ…