ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบ

ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

สภากาชาดไทยขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน   สภากาชาดไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เชิงรุก สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย และเสียชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของคนในประเทศ ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30 น. ณ ที่ทำการศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี นายอภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะผู้แทนเลขาธิการสภากาชาดไทยได้เป็นประธานในการเปิดงานฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เชิงรุก สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยมีนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีได้กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากสภากาชาดไทยและผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNHCR) ผู้แทนสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ผู้แทนคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีส่วนร่วมกับสภากาชาดไทยในการดำเนินงานตามโครงการให้บริการฉีดวัคซีนครั้งนี้ด้วย   ขณะเดียวกัน นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย ซึ่งการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เชิงรุก เป็นการดำเนินงานตามหลักมนุษยธรรม ช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากแก่เพื่อนมนุษย์ที่ยากไร้ เดือดร้อน และไร้โอกาส ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน…

อุปทูตสหรัฐอเมริกาหารือกับเลขาธิการสภากาชาดไทย

อุปทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทยหารือกับเลขาธิการสภากาชาดไทยเรื่องการฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม  2564 นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย ดร.สตีเวน โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย  เข้าพบหารือกับ นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย  และ ดร. อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ณ ห้องรับรอง อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย เพื่อหารือเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของสภากาชาดไทย โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรข้ามชาติ  ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับกิจกรรมการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของสภากาชาดไทย และความเป็นเป็นได้ที่ทางสหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมในการฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรข้ามชาติดังกล่าว

Here with you

พิธีส่งมอบถังออกซิเจน ให้สภากาชาดเมียนมา ในโครงการ “Here With You”

สภากาชาดไทย ร่วมกับ สมาคมธรุกิจไทย – เมียนมา และ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง เข้าร่วมพิธีส่งมอบถังออกซิเจน ให้สภากาชาดเมียนมา ในโครงการ “Here With You”  เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการโต้ตอบสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด- 19 ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  สภากาชาดไทย ร่วมกับ สมาคมธรุกิจไทย – เมียนมา และ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง  ในโครงการ Here With You  บริจาควัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ ถังออกซิเจนขนาด 47 ลิตร จำนวน 300 ถัง  พร้อมการหมุนเวียนเติมก๊าซออกซิเจนให้อีก จำนวน  9,000 ถัง  สำหรับการดูแลผู้ป่วยจากโรคโควิด-19  เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด – 19 ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  โดย นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ ดร. อภิชาติ…

มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสภากาชาดไทย

เอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุเป็นประธานในพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสภากาชาดไทยให้แก่สภากาชาดเนปาล

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ณ ท่าอากาศยานตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ นายโวสิต วรทรัพย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ และนางสาวอุทุมพร อำไพวิทย์ อัครราชทูต เป็นผู้แทนสภากาชาดไทยในพิธีส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ เครื่องผลิตออกซิเจน (oxygen concentrator)  เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ชุดป้องกันส่วนบุคคล และหน้ากาก N 95 เพื่อให้สภากาชาดเนปาลใช้ในการโต้ตอบการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด–19 ในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. บิชวา เคชาร์ มาสเค รองประธานคณะกรรมการบริหารกลางสภากาชาดเนปาล และคณะเจ้าหน้าที่สภากาชาดเนปาล รับมอบ

มอบอุปกรณ์การแพทย์ให้สภากาชาดเนปาล

เอกอัครราชทูตเนปาลประจำประเทศไทยร่วมรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 นายคเณศ ประสาท ธกาล เอกอัครราชทูตเนปาลประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนายเล็ก นาถ โกวตัม ที่ปรึกษาและอุปทูตเนปาลประจำประเทศไทย ร่วมพิธีรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สภากาชาดไทยจะส่งให้สภากาชาดเนปาลเพื่อใช้ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด – 19  โดยมีนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้ส่งมอบ ณ ห้องรับรอง ชั้นล่าง อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สภากาชาดไทยจะมอบให้สภากาชาดเนปาล ประกอบด้วย เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ชุดป้องกันส่วนบุคคล หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากาก N 95

เข้าพบเลขาธิการสภากาชาดไทย

อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศและคณะเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ  ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ โดยนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย ย้ำว่า ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และสภากาชาดไทยจะดำเนินการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้เปราะบางต่อไป

IFRC เข้าเยี่ยมเลขาธิการ

หัวหน้าคณะผู้แทนสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 นางแคททรีน คลาร์คสัน หัวหน้าคณะผู้แทนให้การสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ณ อาคารเทิดพระเกียรติฯ สภากาชาดไทย ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านมนุษยธรรมกับสภากาชาดไทย  รวมทั้งความร่วมมือกับสภากาชาดประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ

ช่วยเหลือสภากาชาดอินเดีย

สภากาชาดไทยสนับสนุนเงินช่วยเหลือสภากาชาดอินเดียเพื่อตอบโต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

สภากาชาดไทยได้ส่งหนังสือแสดงความเสียใจต่อสภากาชาดอินเดีย และสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในสาธารณรัฐอินเดีย เป็นจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 3,152,000 บาท เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564  ซึ่งขณะนี้ สาธารณรัฐอินเดียมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันจากโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 27 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 300,000 คน   สภากาชาดอินเดียได้ปฏิบัติการตอบโต้การระบาดใหญ่ในครั้งนี้ ด้วยการลงพื้นที่มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ แจกจ่ายหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการปฐมพยาบาล จัดตั้งศูนย์กักตัว พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการรับมอบและจัดสรรความช่วยเหลือต่างๆ จากนานาประเทศ     **เครดิตรูปภาพจากทวิตเตอร์และเว็บไซต์สภากาชาดอินเดีย **Photo Cr. : Twitter and website Indian Red Cross Society  

ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ เข้าพบหารือกับเลขาธิการสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 นางคริสติน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในประเด็นเมียนมา พร้อมคณะ  ได้เข้าพบหารือกับนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ณ ห้องรับรองชั้นล่าง อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย โดย ทั้งสองฝ่ายได้หารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น มุมมอง เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ความพร้อมของสภากาชาดไทยกรณีเกิดการอพยพหนีภัยของชาวเมียนมาจำนวนมากเข้ามาในบริเวณชายขอบประเทศไทย และการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในศูนย์พักพิงชั่วคราวต่างๆ  ทั้งนี้ ผู้แทนพิเศษฯ ยินดีให้การสนับสนุนสภากาชาดไทย ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยจากสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

เยี่ยมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

ตรวจเยี่ยมความพร้อมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร ศาตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ และคณะทำงานจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจเยี่ยมความพร้อมของโรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 22 เมษายน 2564 ณ อาคารจันทนยิ่งยง ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ โรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ เป็นโรงพยาบาลสนามด้านโรคระบาด ระดับที่ 1 มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง ได้มาตรฐานตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในด้านสถานที่ บุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วย ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 ที่ไม่มีความรุนแรง มีการดูแลที่ไม่มีความซับซ้อน สามารถตรวจรักษาโดยแพทย์ในเบื้องต้นและพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ศักยภาพสูงกว่าอย่างเหมาะสม โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นนิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้